การติดเชื้อราที่ปากช่องคลอดหรือภายในช่องคลอด (Vulvovaginal candidiasis) เป็นการอักเสบ ติดเชื้อที่ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่าง ที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมภายในช่องคลอดมีการ เปลี่ยนแปลง โดยเชื้อที่พบร้อยละ 90 มักเกิดจากเชื้อชนิด แคนดิดา แอลบิแคน (Candida albicans) สามารถ พบได้ทั้งสตรีวัยเจริญพันธุ์ และสตรีวัยทอง อาจพบร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis) หรือ เชื้อทริโคโมแนส ซึ่งเป็นโปรโตซัวชนิดมีหาง การติดเชื้อที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากเชื้อชนิดเดียว หรืออาจ
เกิดขึ้นได้ พร้อมๆกันทั้งสองหรือสามสาเหตุ ดังกล่าวข้างต้น
การสวนล้างช่องคลอด
- ตกขาวเป็นสีขาวข้นคล้ายเม็ดแป้งหรือคราบนม เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด
- คันที่ปากช่องคลอดหรือภายในช่องคลอด
- แสบร้อน (Burning)
- โดยปกติจะมีกลิ่นอับ ถ้ามีกลิ่นเหม็น มักพบร่วมกับเชื้อแบคทีเรีย
- บวมแดงหรือแผลถลอกที่เกิดจากการเกาที่บริเวณปากช่องคลอด
- มีอาการเจ็บแสบช่องคลอดระหว่างหรือหลังการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
การติดเชื้อราชนิดเดียวมักไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรง แต่ถ้ามีการติดเชื้อร่วมกันกับเชื้อแบคทีเรีย บางชนิด อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี เช่น การติดเชื้ออาจลุกลาม ขึ้นไปที่อุ้งเชิงกรานด้านบน กลายเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบชนิดเฉียบพลัน ซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายต่อชีวิตได้
การสวนล้างช่องคลอด
ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อม กรดอ่อนๆภายในช่องคลอดมีการเปลี่ยนแปลง(เสียสมดุล)
ยากลุ่มปฏิชีวนะ
การได้รับยาแบบสเปคตรัมกว้าง เป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งจะทำให้แบคทีเรีย ชนิด Lactobacilli ที่ทำ หน้าที่ปกป้องสภาพแวดล้อมภายในช่องคลอดต่อการติดเชื้อต่างๆ มีปริมาณลดลง
ใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป
อากาศที่ร้อนชื้นเป็นแหล่งโปรดของเชื้อราแคนดิดา ดังนั้นหากคุณสาวๆ ชอบใส่เสื้อผ้าที่รัดแนบตัว ความอับชื้นในจุดซ่อนเร้นจะมีมากกว่าการใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ภูมิต้านทานต่ำ
โรคบางชนิดที่ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดน้อยลง หรือบกพร่อง เช่น เบาหวาน, ไตวาย, เอดส์ เป็นต้น
ตั้งครรภ์
เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี มากขึ้นด้วย
การคุมกำเนิด
สาวที่ใช้ ห่วงคุมกำเนิด (IUDs) หรือ ไดอะแฟรม (Diaphragms)
วัยทอง
สาวใหญ่วัยทองมักจะต้องเจอกับภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ซึ่งก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการ เกิดเชื้อราในร่มผ้าได้ค่ะ
การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา เราจะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิด การติดเชื้อเหล่านี้ได้อย่างไร
รักษาสุขอนามัยของช่องคลอดที่ถูกวิธี โดยทำความสะอาดแต่เพียงภายนอก ไม่สวนล้างเข้าไปข้างใน โดยเฉพาะขณะที่มีรอบระดูซึ่งเป็นช่วงที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย การมีคู่นอนเพียงคนเดียว, รักษาสุขภาพให้ แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, เมื่อเจ็บป่วยไม่ควรซื้อยารับประทาน เองเป็นระยะเวลานานๆ หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
บทความโดย พันโท นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ศิริศักดิ์พาณิชย์